Health me buddy สุขภาพจิต คิดดีไปด้วยกัน

: Hydrose ม.ทักษิณ : Video / #สุขภาพจิต : คิดดี ปีที่ 7 (คิดดีไอดอล)
: 74 ครั้ง
 
ทีม Hydroser สโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อผลงาน : Health me buddy สุขภาพจิต คิดดีไปด้วยกัน
ประเด็น : สุขภาพจิต
สื่อที่ใช้จัดกิจกรรม : เว็บไซต์ Health me buddy
.
🟡 บทคัดย่อ : ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว สุขภาพจิตของคนเราก็เช่นกัน จากการสำรวจสถิติของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณพบเจอกับปัญหามากมาย อย่างเช่น ปัญหาทางด้านการเรียน การเงิน ความรัก และการปรับตัวในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้จึงเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาด้านสุขภาวะทางจิต ทางคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญจัดได้จัดโครงการ“Health me buddy สุขภาพจิต คิดดีไปด้วยกัน” ร่วมกับการสร้างเว็บไซต์ Nisit kiddee TSU ขึ้นมาเพื่อเป็นเพื่อนใหม่ในการให้ให้ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาวะทางจิตเบื้องต้น ตรวจสอบสุขภาวะทางจิตอีกทั้งบอกแนวทางในการรักษาและเฝ้าระวังเบื้องต้นด้านสุขภาวะทางจิตให้แก่นิสิต
.
🟡 รายละเอียด : สื่อที่เป็นตัววิดีโอเปิดตัวเว็บไซต์ มีเนื้อหาและประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาวะทางจิต เชื่อมโยงกับการเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ส่วนเว็บไซต์ เป็นการนำข้อมูลมาคัดกรองเพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ในการศึกษาและหาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตให้ดีขึ้น อีกทั้งยังได้สำรวจตัวเองว่าสุขภาพจิตของตนเองอยู่ในระดับใด
 
ม.ทักษิณ สงขลา - Health me buddy สุขภาพจิต คิดดีไปด้วยกัน
นิสิตสโมสรคณะศึกษาศาสตร์ กลุ่ม Hydrose มหาวิทยาลัยทักษิณ สร้างสรรค์ผ่านแพลตฟอร์ม Health me buddy สุขภาพจิต
คิดดี ไปด้วยกัน
 
เรื่องความเครียดและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก การป่วยทางสภาพจิตใจย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังปัญหาอื่นๆ ซึ่งหากนักศึกษาเกิดความเครียดจากการเรียน วัยรุ่นทั่วโลกประสบปัญหาสุขภาพจิต แต่เด็กจำนวนมากเหล่านี้ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา การไม่จัดการกับปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นส่งผลกระทบต่อชีวิตในภายหลัง ทำร้ายทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ และจำกัดโอกาสในการมีชีวิตที่สมบรูณ์แบบ เป็นที่ชัดเจนว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นประเด็นเร่งด่วนสำหรับวัยรุ่น
นายธารากรณ์ ยอดนุสิทธิ์ ชื่อหัวหน้ากลุ่ม Hydrose มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า Health me buddy ในรูปแบบสื่อ เว็บไซต์ พร้อมวิดีโอเปิดตัว
และสื่ออื่นๆประกอบ
 
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2566 ณ อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา กลุ่มHydrose สโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรมเปิดตัวแพลตฟอร์ม Health me buddy สุขภาพจิต คิดดีไปด้วยกัน โดยมีนิสิตเข้าร่วม จำนวน 320 คน พร้อมทีมงาน จำนวน 20 คน ได้จัดการเปิดตัวเว็บไซต์ พร้อมสื่อวิดีโอเปิดตัวเว็บไซต์ มีเนื้อหาและประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาวะทางจิต เชื่อมโยงกับการเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ส่วนเว็บไซต์ เป็นการนำข้อมูลมาคัดกรองเพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ในการศึกษาและหาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตให้ดีขึ้น อีกทั้งยังได้สำรวจตัวเองว่าสุขภาพจิตของตนเอง
อยู่ในระดับใด
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม : เริ่มต้นด้วยพิธีเปิด ต่อด้วยช่วง “Mental health” และกิจกรมสันทนาการคลายเครียด ต่อด้วยเปิดตัววิดีโอคลิปเว็บไซต์ ต่อมาเป็นกิจกรรม”Talk with me nisit kiddee TSU” ตามด้วยสันทนาการ และพิธีมอบเว็บไซต์ให้กับทางมหาวิทยาลัยสุดท้ายในกิจกรรม “Know me konw you”
ผลการดำเนินงานครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการโปรโมทเว็บไซต์ซึ่งเป็นช่องทางในการพัฒนาเเพลตฟอร์มแก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่สามารถเข้าถึงและสมัครเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์มสื่อชิ้นนี้ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์และใช้งานได้จริง มีความน่าสนใจตอบโจทย์ของเนื้อหาและปัญหาของผลงานสื่อครั้งนี้
นอกจากนี้ การเปิดตัวเว็บไซต์ยังมีกิจกรรม Talk with me Nisit Kiddee TSU เป็นการแนะนำการเข้างานในการใช้เว็บไซต์ ระบบ และฟังก์ชั่นต่างๆ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนและพูดคุยความเป็นมาของเว็บไซต์ และการนำไปต่อยอด อีกทั้งยังมีช่วง “Mental Health” ซึ่งเป็นช่วงกิจกรรมพบกับวิทยากรด้านสุขภาพจิต ที่มีความเชี่ยวชาญ มาร่วมให้คำแนะนำและทำกิจกรรมร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการ
ผลการตอบรับพบว่า มีนิสิตชั้นปีที่1 ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถสมัครสมาชิกและได้สะท้อนความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์และการประเมินความพึงพอใจเว็บไซต์เพื่อเป็นการพัฒนาและต่อยอดเวปไซต์ได้อย่างดี ทั้งนี้ ผลงานสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว และใช้งานได้จริง ทั้งนี้ มีภาคีหรือเครือข่ายใดที่ร่วมกิจกรรมหรือสนับสนุนการทำงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ และ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ 12
 
 
 

ประเมินการรับชมสื่อ
  • ความรู้ที่ได้รับจากการชมผลงานสื่อ : 0.0
  • สื่อสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : 0.0
  • สื่อสามารถนำไปขยายผลและบอกต่อได้ : 0.0

คลิกเพื่อทำแบบสอบถาม