แคมป์ Hackathon 4Health รับสมัครกลุ่มคนรุ่นใหม่ ร่วมเป็นนักปฏิบัติการขับเคลื่อนสังคม

: admin
: 2024-03-31 09:52:22
: 8956 ครั้ง


สสส. ร่วมกับ มทร.ศรีวิชัย เปิดรับสมัครกลุ่มคนรุ่นใหม่ ร่วมเป็น นักปฏิบัติการขับเคลื่อนสังคมด้วยการออกแบบไอเดียแพลตฟอร์ม “ รู้ทันอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า ” กับ คิดดีไอดอล (นักสื่อสารสุขภาวะ) ผ่าน HACKATHON 4 HEALTH

สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ศูนย์สร้างสรรค์สื่อสำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว (องค์กรสาธารณประโยชน์ เลขที่ 4314) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เปิดโอกาสให้ผู้นำนักศึกษา หรือกลุ่มที่สนใจงานกิจกรรมเพื่อสังคมมาร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อร่วมออกแบบสร้างสรรค์แพลตฟอร์มสื่อสารสุขภาวะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม

โดยสมัครเข้าร่วมแคมป์ Hackathon 4 health  ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และ ตรัง ผ่านการพัฒนาสร้างสรรค์ไอเดียแพลตฟอร์มสื่อสารสุขภาวะในประเด็น“ รู้ทันอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า ” พร้อมนำเสนอ Pithing เพื่อรับทุนสนับสนุนดำเนินกิจกรรมจริงในพื้นที่ปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 350,000 บาท

 วัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ร่วมสร้างสรรค์ต้นแบบนวัตกรรมแพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ พร้อมสามารถนำไปจัดกิจกรรมหรือเผยแพร่ในพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์เพื่อรู้เท่าทันภัยบุหรี่ไฟฟ้า โดยมีงบประมาณสนับสนุนกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจากแคมป์ Hackathon

นิยามความหมาย

  • Hackathon กิจกรรมการระดมสมองเพื่อสร้างสรรค์ไอเดียในระยะเวลาอันสั้น

  • 4 Health มิติสุขภาวะ ที่เกี่ยวข้องกับ กาย ใจ อารมณ์ และสังคม โดยเฉพาะประเด็น บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เป็นความเสี่ยงของกลุ่มเยาวชนที่ต้องสร้างความตระหนักรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาวะ (Health Literacy)

  • นวัตกรรม แนวคิดใหม่ หรือผลงานที่ต่อยอดและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมหรือช่วยสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้

  • แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ รูปแบบสื่อหรือช่องทางที่สามารถนำเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการสื่อสารการรับรู้ข้อมูลประเด็นสุขภาพมีในยุคชีวิตวิถีใหม่ที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์จากสื่อ เช่น Music Video , Cartoon , Manga , Shot film , Motion Graphic , Video Blog , Board Game , Application , Drama Fantasy , Game ,  Line sticker , Wed site , สิ่งประดิษฐ์ , เกมศึกษา , โครงงาน เป็นต้น

  • mentor บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการแนะนำ ชี้แนะ เพื่อให้บรรลุจุดหมายที่ตั้งไว้ ผ่านการรับฟังความต้องการ ปัญหา คำถาม ข้อสงสัยและนำมาประมวลเพื่อแนะนำ ชี้ทาง ถามคำถามให้คิด โดยจะมีเทคนิคเพื่อให้หลุดกรอบความคิดเดิมๆและสามารถหาคำตอบในปัญหาที่สงสัยได้

 กลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มผู้นำนักศึกษา องค์การหรือชมรม หรือคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจ เข้าร่วมแคมป์ Hackathon 4Health โดยกำหนดพื้นที่ละ 30-35 คน หรือจำนวน 6 กลุ่มๆละ 5 คน รวม 30 คน (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่)         
รูปแบบการดำเนินงาน คัดเลือกกลุ่มแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนาไอเดียสร้างสรรค์แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ ผ่านการ Coach ของทีม mentor พร้อมการ Pitch ไอเดียสื่อสุขภาวะที่มีไอเดียน่าสนใจและสามารถดำเนินกิจกรรมได้จริง ผู้ผ่านการคัดเลือกจากแคมป์ Hackathon จะได้รับทุนสนับสนุน จำนวนไม่เกิน 30,000 บาทต่อกลุ่ม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะที่นำเสนอ โดยผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรจากโครงการ

ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน เพื่อค้นหากลุ่มผู้นำนักศึกษา ที่มีไอเดียสร้างสรรค์แพลตฟอร์มสื่อรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าและสามารถดำเนินการผลิตสื่อและจัดกิจกรรมในพื้นที่ปฏิบัติการได้จริง
ระยะเวลา  2 วัน ( รวมเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ) แบบค้างคืน

ประเด็นท้าท้ายและโอกาสการดำเนินงาน

ท่ามกลางภูมิทัศน์สื่อในประเทศไทยที่ยังคงเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยของ (Digital Disruption) อย่างต่อเนื่อง ยิ่งสถานการณ์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นับเป็นตัวเร่งของการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด ในสภาพปัญหาและความไม่สมดุลในระบบสื่อที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาวะ ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นในการสร้างความสมดุลให้เกิดนิเวศสื่อสุขภาวะ ที่ส่งผลให้กลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกคุกคามมากที่สุด สอดคล้องกับข้อมูลรายงานขององค์การยูนิเซฟ จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS) ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างและความเหลื่อมล้ำเป็นประเด็นความท้าทายต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการพัฒนาเด็ก      

การพัฒนาให้มีระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ (Health Media Ecosystem) จึงมีความจำเป็นอยากมาก ในการสร้างระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มเยาวชนในฐานะผู้ใช้และผู้สร้างเนื้อหาผ่านองค์ประกอบหลักในระบบการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร และช่องทางการสื่อสาร ผ่านการพัฒนากลุ่มเยาวชนแกนนำที่สามารถเป็นนักสื่อสารที่มีสมรรถนะสูงในการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนความคิดประเด็นสุขภาวะสู่การสร้างสรรค์และการออกแบบเนื้อหาและสื่อเพื่อสื่อสารส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับคนรอบข้าง ที่เอื้อต่อวิถีชีวิตสุขภาวะ      

บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic Cigarette)  เป็นอันตรายต่อกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างมาก เยาวชนไทยเริ่มมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จากผลการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและองค์การอนามัยโลก พบว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของเด็กนักเรียนไทย (อายุ 13-15 ปี) เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 3.3 ในปี 2558 เป็น ร้อยละ 8.1 ในปี 2564 จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาและระดับปริญญากว่า 2,000 คน พบว่า 1 ใน 3  หรือกว่าร้อยละ 30 เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างน้อย 1 ครั้ง นักศึกษาในมหาวิทยาลัยกว่าร้อยละ 60 มีอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า แสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่กำลังรุกกลุ่มนักศึกษาและนักเรียน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ข้อมูลสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 ปี 2562-2563 พบวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี เคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 5.3,  สูบเป็นประจำ ร้อยละ 2.9 และ ร้อยละ 30 ของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำเป็นผู้หญิง เด็ก และเยาวชนไทยอายุ 10-19 ปี ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ากว่าครึ่งหรือร้อยละ 53 มีภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้าด้วย และเด็กที่เคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในเด็กและเยาวชนที่สมองยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ พิษของนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าจะส่งผลให้เด็กที่สูบมีอาการหงุดหงิดง่าย เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง ความจำแย่ลง ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น และมีภาวะซึมเศร้า สอดคล้องกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองในเด็กและเยาวชนลดลง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

ข้อมูลเอกสารลับของบริษัทยาสูบ ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าบุกจู่โจมกลุ่มนักสูบหน้าใหม่อย่างเด็กและเยาวชนอย่างหนักหน่วง ด้วยกลยุทธ์การหาซื้อง่าย และสร้างความเข้าใจผิดในบางประเด็น จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินการใช้ชีวิตกิจวัตรประจำวันที่ต้องสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนไทยเพื่อให้รู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่อของบุหรี่ไฟฟ้า    


Hackathon กระบวนการเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน คำว่า “แฮกกาธอน (Hackathon)” มาจากการรวมคำว่า “แฮก (Hack)” ซึ่งในที่นี้ หมายถึง การสร้างสิ่งใหม่ กับ “มาราธอน (Marathon)” ที่หมายถึง การทำงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักเหมือนกับการแข่งขันวิ่งมาราธอน รวมกันแล้วให้ความหมายถึง การสร้างสิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ เป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ภายใต้โจทย์ที่ได้รับ (Themes) ภายในระยะเวลาจำกัด เช่น 12 ถึง 48 ชั่วโมง เป็นต้น    

       

การนำ Hackathon มาใช้ในการพัฒนาคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “นักสร้างสรรค์ไอเดียสื่อสารขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ” ภายใต้ Hackathon 4 Health : คิดเปลี่ยนสุขภาวะ เพื่อระดมสมองแก้ปัญหาสุขภาพโดยใช้ระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นให้เยาวชนสามารถเรียนรู้สร้างสรรค์ไอเดีย แพลตฟอร์มนวัตกรรมสื่อสุขภาวะ รูปแบบสื่อที่มีความเหมาะสม สามารถเป็นเครื่องมือสำหรับการจัดกิจกรรมเผยแพร่และขยายผลในมหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือ ชุมชน รวมถึงผ่านสังคมออนไลน์ได้ ในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์และบริบทในพื้นที่ เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างสังคมสุขภาวะ

 ขั้นตอนในการเข้าร่วมกิจกรรม

  1. สมัครเข้าร่วมแคมป์ Hackathon 4 health ก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 67
  2. ประกาศรายชื่อเพื่อเข้าร่วม แคมป์ Hackathon 4 health ในวันที่ 31 พฤษภาคม 67
  3. เข้าร่วมกิจกรรม แคมป์ Hackathon 4 health ซึ่งผู้เข้าร่วม จะต้องเตรียมความพร้อมตัวในการ Hackathon ทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ แนวคิด รวมถึงความกดดันในกิจกรรมครั้งนี้ โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนด และความพร้อมในการนำเสนอ Pithing ไอเดียแก่โค้ชในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือสื่อและประเด็นสุขภาวะ
  4. ประกาศรายชื่อทีมที่ได้รับการสนับสนุนทุนพร้อมทำสัญญา ในวันที่ 1 กรกฎาคม 67 (ทางเพจ KiddeeiDOL)
  5. กลุ่มที่ได้รับคัดเลือก จะได้รับการปฐมนิเทศนักสื่อสารสุขภาวะ วันที่ 27-28 กรกฎาคม 2567 ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
    ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา พร้อมรับการ Training Up Skills ในการอบรมพัฒนาศักยภาพผ่านออนไลน์ และเวทีถอดบทเรียน SHOWcase นำเสนอผลงานเด่น ในเดือน 16-17 พฤศจิกายน 2567 พร้อมดำเนินกิจกรรมในการผลิตสื่อและจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานสื่อและกิจกรรมสุขภาวะในพื้นที่ปฏิบัติการของตนเอง โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ช่วงเวลา สิงหาคม ถึง ตุลาคม 2567)

 

พื้นที่ดำเนินงานแคมป์ Hackathon 4Health จำนวน 3 ครั้ง                   

ครั้งที่

วันที่

พื้นที่ดำเนินงาน

สถานที่จัดกิจกรรม

1

11-12 มิถุนายน 67

จังหวัดตรัง

ห้องประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จังหวัดตรัง

2

13-14 มิถุนายน 67

จังหวัดสงขลา

ห้องประชุมชูพันธ์ ชั้น 2 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย จังหวัดสงขลา

3

20-21 มิถุนายน 67

จังหวัดนครศรีธรรมราช

หอประชุมวิธานสันติ มทร.ศรีวิชัย (ไสใหญ่)
วิทยาเขตนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

ระยะเวลา

กิจกรรม

1 เม.ย. ถึง 15 พ.ค. 67

ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัครเข้าร่วม แคมป์ Hackathon 4 health

15 พฤษภาคม 67

วันสุดท้ายของการสมัครเข้าร่วม แคมป์ Hackathon 4 health

31 พฤษภาคม 67

ประกาศผลการเข้าร่วม แคมป์ Hackathon 4 health

ระหว่างเดือน มิถุนายน 67

แคมป์ Hackathon 4 health ( 2 วัน 1 คืน)

11-12 มิถุนายน 67

ครั้งที่ 1 พื้นที่จังหวัดตรัง ห้องประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จังหวัดตรัง

13-14 มิถุนายน 67

ครั้งที่ 2 พื้นที่จังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุมชูพันธ์ ชั้น 2 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย จังหวัดสงขลา

20-21 มิถุนายน 67

ครั้งที่ 3 พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ หอประชุมวิธานสันติ มทร.ศรีวิชัย (ไสใหญ่) วิทยาเขตนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช

1 กรกฎาคม 67

ประกาศรายชื่อกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินงานพร้อมทำสัญญา

27-28 กรกฎาคม 67

ปฐมนิเทศและค่ายบ่มเพาะพลเมืองนักปฏิบัติการทางสังคมสื่อสารสุขภาวะ
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา

30 กรกฎาคม 67

ส่งเอกสารสัญญาข้อเสนอโครงการ และเปิดบัญชีโครงการ

ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน (สิงหาคม ถึง ตุลาคม 67)

ดำเนินการผลิตสื่อ และจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานกับกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์จากสื่อในพื้นที่ปฏิบัติการและออนไลน์

เดือนละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือน  สิงหาคม ถึง ตุลาคม 67

เข้าร่วม Training Up Skills ในการอบรมพัฒนาศักยภาพผ่านออนไลน์

16-17 พฤศจิกายน 2567

เวทีถอดบทเรียน และนำเสนอผลงานเด่น SHOWcase
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา

 หมายเหตุ.. วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

เงื่อนไขที่สำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม Hackathon 4Health

  1. รวมกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 3-5 คน โดยศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น นักออกแบบ นักหาข้อมูล นักจัดการ นักนำเสนอหรือสื่อสาร เป็นต้น
  2. ศึกษาประเด็น บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ที่สอดคล้องกับบริบทปัญหาในพื้นที่หรือชุมชนที่ต้องการแก้ไขปัญหาก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การเก็บหรือจัดทำข้อมูล การหาวิธีการหรือกิจกรรมเพื่อมาออกแบบ รวมไปถึงไอเดียการ Pitch เพื่อนำเสนอ idea หรือ solutions ทางออกของการแก้ไขปัญหา
  3. ผลงานสื่อที่ผลิตจะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จากกิจกรรมหรือสื่อในพื้นที่ทางกายภาพ และช่องทางออนไลน์ โดยต้องระบุช่วงกลุ่มเป้าหมายเยาวชนที่มีช่วงอายุที่ชัดเจน
  4. คิดค้นและสร้างสรรค์ออกแบบ Platform กิจกรรมสื่อ (Activity) หรือ ผลงานสื่อ (Product) อย่างน้อย 1 ชิ้นงาน ในรูปแบบ Demo/Prototype โดยมีกรอบงบประมาณสนับสนุน ไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งสามารถแจกแจงสามารถอธิบายถึงค่าใช้จ่ายที่คิดว่าจะดำเนินการในกิจกรรมได้
  5. 5. สามารถดำเนินงานในพื้นที่ปฏิบัติการ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ระหว่างสิงหาคม ถึง ตุลาคม 2567

เกณฑ์ PPIB ในการคัดเลือกผลงานสื่อสร้างสรรค์ Hackathon 4 health ประกอบด้วย

  1. Pain Point แนวคิดที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการดำเนินงานโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับมิติสุขภาวะ
  2. Passion ความตั้งใจในการสร้างสรรค์สื่อเพื่อแก้ปัญหาประเด็นสุขภาวะที่สอดคล้องกับพื้นที่หรือชุมชน
  3. Innovation/Creative มีนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ใหม่สำหรับพื้นที่ปฏิบัติการ
  4. Budgedงบประมาณที่ใช้ในการออกแบบและผลิตผลงานสื่อมีความเหมาะสม คุ้มค่า และประหยัด

 

กระบวนการรูปแบบ กิจกรรม แคมป์ Hackathon 4 health

 

วิธีการคิดค้นและสร้างสรรค์เพื่อออกแบบ Platform สื่อสุขภาวะ

สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมสำหรับผู้เข้าร่วมแคมป์ Hackathon 4Health
1) Group work  ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่ม ทำการออกแบบไอเดียตามโจทย์ในห้อง (breakout room) ที่ผู้จัดงานจัดเตรียมไว้ให้

2) Meeting with mentor ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มต้องหมุนเวียนเข้ากลุ่มเพื่อขอคําปรึกษาจาก mentorที่ผู้จัดงานเตรียมไว้ให้ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบสื่อและเทคโนโลยี และด้านการบริหารจัดการ)

3) ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มสามารถจองนัดหมายเพื่อขอคําปรึกษาแบบตัวต่อตัวจาก mentor ในแต่ละด้าน ตามตาราง นัดหมายที่ผู้จัดงานกำหนดไว้ให้

4) การรับประทานอาหารและอาหารว่าง ผู้จัดงานเตรียมในรูปแบบ Boxset (อาหารกล่อง) ตามเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสามารถนำอาหารหรือของว่างมาเองได้โดยจำเป็นต้องรักษาความสะอาดให้เรียบร้อย
5) ผู้เข้าร่วมต้องเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ปลั๊กไฟ หรือเครื่องมืออื่นๆที่อำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์ผลงาน
6) ทางผู้จัดไม่ได้มีการเตรียมที่นอนหรือหมอนให้ เพราะฉนั้นผู้เข้าร่วมจะต้องเตรียมอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในการพักผ่อนในระหว่างการดำเนินกิจกรรมโดยผู้เข้าร่วมจะต้องแบ่งจัดสรรเวลาเอง

7) ผู้เข้าร่วมจะต้องสามารถดำเนินกิจกรรมในภาวะความกดดันทั้งเวลา ชิ้นงาน และการให้คำแนะนำของ mentor ได้

รายละเอียดกำหนดการ ( แบบค้างคืน)

วันที่ 1 ของการจัดกิจกรรม Hackathon 4Health

เวลา

นาที

รายละเอียด

08.30 น.

30

ลงทะเบียน / ทักทายและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมการ Hackathon 4Health

09.00 น.

30

ชี้แจงรายละเอียดกติกาและขั้นตอนการ Hackathon

09.30 น.

60

Meeting with mentor # 1 ด้านเนื้อหาประเด็นสุขภาวะ

10.30 น.

150

Group work

13.00 น.

60

Meeting with mentor # 2 ด้านการออกแบบสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี

14.00 น.

180

Group work

00.00 น.

420

Meeting Online with mentor & Group work (Private)

(นอนพักในพื้นที่จัดงานโดยผู้เข้าร่วมจะต้องเตรียมชุดเครื่องนอนมาเอง)

วันที่ 2 ของการจัดกิจกรรม Hackathon 4Health

เวลา

นาที

รายละเอียด

08.30 น.

60

กิจกรรมขยับสมอง ขยับร่างกาย

09.00 น.

30

Meeting with mentor # 3 ด้านการบริหารจัดการ

09.30 น.

210

Group work

13.00 น.

30

แนะนำกรรมการ รูปแบบการนำเสนอ/เกณฑ์การให้คะแนนและเตรียมนำเสนอ

13.30 น.

90

Pitching นำเสนอประเด็นไอเดียสร้างสรรค์ต้นแบบนวัตกรรมแพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ

15.00 น.

30

ทำแบบประเมินหลังการเข้าร่วม และ มอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม

   15.30 น.

สิ้นสุดกิจกรรม

หมายเหตุ.. อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม รับประทานอาหารตามเวลาที่ผู้จัดเตรียมให้

 

 สิทธิ์ประโยชน์ที่จะได้รับ

  • ผู้ที่ผ่านการเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรม ได้แก่ ค่ายบ่มเพาะไอเดียสุขภาวะ แคมป์ Hackathon 4 health และ SHOWcase นำเสนอผลงานเด่น จะได้รับเกียรติบัตรจากการเข้าร่วมโครงการ
  • ทีมที่ผ่านการคัดเลือก Hackathon 4 health จะได้รับทุนการการสนับสนุนโครงการ ไม่เกินจำนวน 30,000 บาทต่อโครงการ ทั้งนี้ ขึ้นจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุน พร้อมรับการ Training Up Skills ในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ตลอดโครงการ
  • ทีมที่มีผลงานเด่น จะได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมประกาศนียบัตรเมื่อสิ้นสุดโครงการ

เอกสารเพิ่มเติม https://drive.google.com/file/d/1X3-iGidGbfG-HW6wsVRpWUOvZEWCjWAF/view?usp=share_link

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   โทร. 089-730-6062 , 095-273-5678   
Email : info.dekkiddee@gmail.com
สมัครเข้าร่วมแคมป์ ก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 67 : https://forms.gle/Gc4rD5NByYgFbGJn8