สสส. จับมือภาคีภาคใต้จัดงาน MIDL WEEK 2024 ในพื้นที่ภาคใต้

: admin
: 2024-10-30 13:18:00
: 30 ครั้ง


สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยศูนย์สร้างสรรค์สื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว ร่วมกับ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยทักษิณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา HI CABLE TV SONGKHLA และ a.e.y.space

 

ร่วมจัดงาน MIDL WEEK 2024  : A(m)I -Connext ? เนื่องในสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล ระดับภูมิภาคใต้ ในวันที่ 30 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2567  ณ a.e.y.space อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้ MIDL (Media Information and Digital Literacy) เป็นทักษะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ และมีวิจารณญาณวิเคราะห์สื่อ รับสื่อ และผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม แบ่งเป็น 3 ทักษะย่อย คือ Media Literacy คือ การรู้เท่าทันสื่อ เช่น การผลิตสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม Information Literacy คือ การรู้เท่าทันสารสนเทศ เช่น การเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ถูกต้อง การไม่ให้ร้ายผู้อื่นด้วยการสร้างข้อมูลเท็จDigital Literacy คือ การรู้เท่าทันดิจิทัล เช่น การผลิตและส่งต่อสื่อที่นำเสนอข้อมูลอย่างสร้างสรรค์บนโลกดิจิทัล ผ่านกระบวนการอบรมเชิงปฎิบัติการ AR WALL พลเมืองคนรุ่นใหม่ใช้สื่อขับเคลื่อนสังคม พร้อมเปิดพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนการเปลี่ยนเมืองด้วยการออกแบบอย่างรู้เท่าทัน

 

MIDL WEEK 2024 ในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีรูปแบบการดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเช้า อบรมเชิงปฎิบัติ AR WALL พลเมืองคนรุ่นใหม่ใช้สื่อขับเคลื่อนสังคม และช่วงบ่าย MiDL FORUM เวทีเสวนาขับเคลื่อนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งการอบรมเชิงปฎิบัติ AR WALLพลเมืองคนรุ่นใหม่ใช้สื่อขับเคลื่อนสังคม ได้เปิดรับสมัครนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และผู้สนใจ มาเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานผ่าน Interactive Wall Street art ย่านเมืองเก่าสงขลา ชุบชีวิตภาพวาดบนผนังเมืองเก่าสงขลา ด้วยการอบรมเชิงปฎิบัติการ AR WALL พลเมืองคนรุ่นใหม่ใช้สื่อขับเคลื่อนสังคม พร้อมเข้าร่วมเวทีเสวนาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงMiDL FORUM เป็นการพื้นที่การสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมและรณรงค์ให้เรื่องเท่าทันสื่อฯ (MIDL) เป็นวาระทางสังคมของสังคมไทย คู่ขนานกับการจัดสัปดาห์เท่าทันสื่อฯของระดับสากล เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมร้อยของภาคส่วนต่างๆที่ เกี่ยวข้องในระดับต่างๆ และเพื่อผลักดันให้เกิดกลไกการติดตามสถานการณ์ ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงานด้าน MIDLอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ ความร่วมมือเครือข่ายนักวิชาการ นักสื่อมวลชน และนักออกแบบ นักสื่อสารภาคใต้ ให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อ และ รอบรู้ทางสุขภาพ

 

โดยมีผู้ร่วมเสวนา MiDL FORUM ดังนี้ นายณัฐพล สมุหเสนีโต นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ
กับประเด็น การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อที่ต้องรู้เท่าทัน ซึ่ง
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา เป็นหน่วยงานบริหารราชการในส่วนกลางภายใต้การกํากับดูแลของสํานักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สํานักนายกรัฐมนตรี วิสัยทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์เป็นองค์การที่ได้รับความเชื่อถือด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ

นางสาวนรารัตน์ ศรีเปารยะ พี่ตาล ผู้สื่อข่าว HI cable TV Songkhla กับประเด็น : พลังสื่อท้องถิ่นเพื่อสร้างความรู้เท่าทันสื่อในสังคม ผู้สื่อข่าว HI cable TV Songkhla มุ่งมั่นในการทำหน้าที่สื่อสารมวลชนท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา การใช้สื่อสาธารณะเพื่อสร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรม ผ่านการรับผิดชอบต่อสังคม  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสริมศักดิ์ ขุนพลมหาวิทยาลัยทักษิณ ประเด็น : บริบทวัฒนธรรมกับการรอบรู้และเท่าทันสื่อ ด้วยบริบทวัฒนธรรมของภาคใต้มีรูปแบบที่หลากหลายและความเป็นพหุวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีกระบวนการสื่อสารเพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมให้เติบโตทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัททิรา กลิ่นเลขา มทร.ศรีวิชัย ประเด็น : รู้เท่าทันสื่อคือหน้าที่พลเมือง ชวนอ่านสังคมรู้เท่าทันสื่อ

การทำความเข้าใจถึงความจำเป็น ความสำคัญ และแนวปฏิบัติเบื้องต้นว่าต้องทำอย่างไรจึงจะ “รู้เท่าทันสื่อ” ทั้งในฐานะผู้รับสารและผู้ส่งสารระดับต่าง ๆ ในขณะที่เนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิพากษ์สื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ ละคร โฆษณา รวมถึงการวิพากษ์ถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในวาระเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจริง และกรณีศึกษาที่จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นแบบอย่างของการคิดในเชิงวิเคราะห์และเชิงวิพากษ์ เพื่อการใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสื่อและข่าวสารที่ชาญฉลาดมากขึ้น คุณเมธัส เทพไพฑูรย์  (อ.ดิว) อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.ศรีวิชัย ประเด็น : การสร้างสรรค์แฟลตฟอร์มสื่อนวัตกรรมทางสังคม การนำเทคโนโลยี AR มาช่วยพัฒนาการท่องเที่ยว Street Art ย่านเมืองเก่าสงขลาให้มีชีวิตชีวาและเคลื่อนไหวได้เสมือนจริง ผ่านจอโทรศัพท์มือถือ นําเทคโนโลยีด้านคอนเทนต์มีเดียต่าง ๆ หรือ VR, AR มายกระดับเขตเมืองเก่าสงขลา โดยเฉพาะสตรีทอาร์ตให้กลับมามีชีวิตชีวา และเคลื่อนไหวได้เสมือนจริง ซึ่งสามารถตอบโจทย์นโยบายขส่งเสริมให้การท่องเที่ยวชุมชนมีศักยภาพที่เข้มแข็ง และมีความยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐพงษ์ หมั่นหลี นักวิชาการโครงการ ประเด็น : การสร้างความตื่นรู้สู่การปรับตัวของชุมชนดิจิทัล รู้หวันทันสื่อ เป็นกระบวนการในการรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกระบวนการ MIDL เพื่อสร้างการสร้างความตื่นรู้สู่การปรับตัวของชุมชนดิจิทัล และคุณอับดุลการิม ปัตนกุล นักออกแบบรุ่นใหม่ ประเด็น : การเปลี่ยนเมืองด้วยมุมมองใหม่ รากฐานจากความคิด ‘เมืองสำหรับทุกคน’ หรือ ‘inclusive city’ ซึ่งทุกคนรวมถึงเยาวชนเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน

 

ผลลัพธ์ที่น่าสนใจจากกิจกรรมครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดความร่วมมือกับภาคและหน่วยงานในระดับภูมิภาค สู่การเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้ MIDL (Media Information and Digital Literacy) เป็นทักษะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ และมีวิจารณญาณวิเคราะห์สื่อ รับสื่อ และผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม พร้อมขยายหลักสูตร AR WALL พลเมืองคนรุ่นใหม่ใช้สื่อขับเคลื่อนสังคม และการเปิดพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนการเปลี่ยนเมืองด้วยการออกแบบอย่างรู้เท่าทัน