สุขภาพดีสุมื้อ ชวนขยับกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
: admin: 2023-12-27 05:41:06
: 449 ครั้ง
ทีม โกนาสุ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผลงาน : ม่วนมื้อนี้ (สุขภาพดีสุมื้อ)
ประเด็น : เพิ่มกิจกรรมทางกาย
สื่อที่ใช้จัดกิจกรรม : มิวสิควีดีโอ ประเภทส่งเสริมกิจกรรมทางกาย


โอ๊ย..อ้ายปวดหลัง เฮ็ดอิหยัง มันจั้งสิหาย
มีสาวข้างกาย หัวใจอ้ายมันคงสิดี
ลุกขึ้นจับหลัง หมุนซ้ายขวาสักสองสามที
ม๊วนม่วนมื้อนี้ สุขกายดี โก๊โกนาสู
ม๊วนม่วนมื้อนี้ สุขกายดี โก๊โกนาสู
น๊อนนอนอย่างเดียว กำลังกายบ่คิดสิออก
อยากสิบักกอก ลุกขึ้นมา คันบ่ลุกให้
มาม่วนนำกัน ม่วนนำกัน ม่วนกันเข้าไป
เฮาเด็กรุ่นใหม่ ออกกำลัง อ๊อกกำลังกาย
เฮาเด็กรุ่นใหม่ ออกกำลัง อ๊อกกำลังกาย
สอยสอย พาโยกแอวพาโยกแอว แล้วมันปวดเสย
เจาเจ้าบ่เคย บ่ฮู้จักดัดแอวให้โล่ง
พอเห็นแล้วต๊าย คนอะไร ยืนหลังโก๊งโก่ง
ร่างก็สูงโปร่ง ยืนหลังโก่ง มันเบิ่งบ่ได้

สุขภาพดีสุมื้อ ชวนขยับกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กลุ่ม โกนาสุ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์นำเสนอผลงานโครงการ ม่วนมื้อนี้ (สุขภาพดีสุมื้อ) มิวสิควีดิโอ ประเภทส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ได้จัดกิจกรรมชวนเพื่อมาขยับกายเพื่อลด “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ซค่งพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มโกนาสุจึงได้แนะขยับร่างกายลดน้ำตาลและไขมันในเลือดหลังอาหาร
ซึ่งวิถีชีวิตปัจจุบันโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้คนเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง โดยเพราะกลุ่มนีกศึกษาที่ขาดกิจกรรมทางกายมีรูปแบบและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตติดที่-ติดโต๊ะ-ติดจอ ทั้งนั่งเรียนและนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ทั้งที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นเมืองกีฬาอยากเห็นผู้ชมผู้เชียร์กีฬามาร่วมสนุกกับการออกกำลังกาย ผ่านการสร้างสรรค์สื่อคลิปประกอบท่าทางบริหารกายสุขภาพดีสุมื้อด้วย มิวสิควีดิโอ
กิจรรมครั้งนี้ มีทีมงาน 11 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 34 คน ช่วงอายุ 18-21 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
นายวิชญ์พล มากทอง หัวหน้าทีม กล่าวว่า หลังจากผลิตสื่อและได้นำมาเผยแพร่ผ่านการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1. บอกเล่าที่มาที่ไปของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ทำกิจกรรมขยับร่างกายกับวิทยากร 3. กิจกรรม ประกาศผลชาเลนจ์ ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ส่งเข้าแข่งขัน
ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ ได้เสริมสร้างกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการทำชาเลนจ์ เต้นเพลงม่วนมื้อนี้ กับเพื่อนๆ น้องๆใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อน ๆ ในการฝึกซ้อมเต้น และในวันจัดกิจกรรมได้รับการอบรมในเรื่องของการออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะที่ดี ได้ขยับร่างกายและรับความรู้ไปกับวิทยากร ส่งผลให้น้องๆจะได้นำความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะที่ดีและได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ซึ่งผลตอบรับ น้องๆกลุ่มเป้าหมายเอนจอยในวันจัดกิจกรรมที่ได้ลุกขึ้นขยับร่างกายไปพร้อมกับวิทยากร และได้เรียนรู้เรื่องการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อนำความรู้ไปใช้ในวิชาเรียน การผลิตสื่อ ต่อไป และยังอยากให้ทีมโกนาสุ และทาง สสส. มาจัดโครงการกิจกรรมให้อีกครั้ง
โดยมีภาคีหรือเครือข่ายใดที่ร่วมกิจกรรมหรือสนับสนุนการทำงาน ได้แก่ สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน นักวิชาการสาธารณสุข อบต.ถนนหัก อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
กลุ่ม โกนาสุ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์นำเสนอผลงานโครงการ ม่วนมื้อนี้ (สุขภาพดีสุมื้อ) มิวสิควีดิโอ ประเภทส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ได้จัดกิจกรรมชวนเพื่อมาขยับกายเพื่อลด “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ซค่งพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มโกนาสุจึงได้แนะขยับร่างกายลดน้ำตาลและไขมันในเลือดหลังอาหาร
ซึ่งวิถีชีวิตปัจจุบันโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้คนเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง โดยเพราะกลุ่มนีกศึกษาที่ขาดกิจกรรมทางกายมีรูปแบบและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตติดที่-ติดโต๊ะ-ติดจอ ทั้งนั่งเรียนและนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ทั้งที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นเมืองกีฬาอยากเห็นผู้ชมผู้เชียร์กีฬามาร่วมสนุกกับการออกกำลังกาย ผ่านการสร้างสรรค์สื่อคลิปประกอบท่าทางบริหารกายสุขภาพดีสุมื้อด้วย มิวสิควีดิโอ
กิจรรมครั้งนี้ มีทีมงาน 11 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 34 คน ช่วงอายุ 18-21 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
นายวิชญ์พล มากทอง หัวหน้าทีม กล่าวว่า หลังจากผลิตสื่อและได้นำมาเผยแพร่ผ่านการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1. บอกเล่าที่มาที่ไปของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ทำกิจกรรมขยับร่างกายกับวิทยากร 3. กิจกรรม ประกาศผลชาเลนจ์ ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ส่งเข้าแข่งขัน
ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ ได้เสริมสร้างกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการทำชาเลนจ์ เต้นเพลงม่วนมื้อนี้ กับเพื่อนๆ น้องๆใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อน ๆ ในการฝึกซ้อมเต้น และในวันจัดกิจกรรมได้รับการอบรมในเรื่องของการออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะที่ดี ได้ขยับร่างกายและรับความรู้ไปกับวิทยากร ส่งผลให้น้องๆจะได้นำความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะที่ดีและได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ซึ่งผลตอบรับ น้องๆกลุ่มเป้าหมายเอนจอยในวันจัดกิจกรรมที่ได้ลุกขึ้นขยับร่างกายไปพร้อมกับวิทยากร และได้เรียนรู้เรื่องการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อนำความรู้ไปใช้ในวิชาเรียน การผลิตสื่อ ต่อไป และยังอยากให้ทีมโกนาสุ และทาง สสส. มาจัดโครงการกิจกรรมให้อีกครั้ง
โดยมีภาคีหรือเครือข่ายใดที่ร่วมกิจกรรมหรือสนับสนุนการทำงาน ได้แก่ สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน นักวิชาการสาธารณสุข อบต.ถนนหัก อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์